วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เด็กเรียนดี.....ที่ตายไป



     เป็นเรื่องหน้าเศร้าที่ปัจจุบันนี้เรามักจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับ "เด็กนักเรียนฆ่าตัวตาย หรือโดนทำร้ายร่างกายต่างๆ นานา โดยเฉพาะ "เด็กที่เรียนดี"
          เมื่อเร็วๆ นี้ครูได้ฟังข่าวจากทีวีและหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับ "เด็กนักเรียนติดเกม และเคยเป็นเด็กเรียนดีมาก่อน เมื่อผลการเรียนตกต่ำ เกิดภาวะเครียดและลงท้ายด้วยการผูกคอตาย หรือแม้กระทั้งภาพข่าวที่ครูได้นำมาเป็นภาพประจำบทความนี้ที่ว่า "ไม่มีค่าเทอม 2 พัน ดญ.ม.3 จนห้อยคอตายสลด@.....หรือถ้าหากจะไล่เหตุการณ์ที่เด็กๆ เหล่านี้ต้องเสียชีวิตก็มาจากหลายสาเหตุเช่น ผลการเรียนตกต่ำ สอบเข้ามหาวิทยาลัยดังๆ ที่คาดหวังไม่ได้ ติดเกม โดนพ่อแม่บังคับ โดนเพื่อนๆ ล้อเลียน เป็นต้น แต่ที่น่าเสียดายคือ เป็นเด็กตั้งใจเรียน...เมื่อเกิดความผิดหวัง ไม่ได้ดั่งใจก็ลงท้ายด้วยการ "ตาย" หรือแม้กระทั้งนิสิตมหาวิทยาลัยดังต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่องหน้าตา ความรัก การเรียน...หลายคนเลือกที่จะใช้ความ "ตาย" แก้ปัญหา

        ปัญหาเหล่านี้มันสะท้อนให้เห็นว่า "การเลี้่ยงดูของพ่อแม่หรือระบบการศึกษาไม่ดีหรือไม่" จึงเกิดเหตุการณ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือเกิดจากเหตุปัจจัยอะไรอื่้นอีกหรือเปล่า ซึ่งก็น่าจะเป็นสังคม บริบท สิ่งแวดล้อมต่างๆ ประสมปนเปกันไปหมด แต่ระบบที่ควรจะเข้มแข็งและเป็นสถานที่ที่ให้คำปรึกษา แนะนำ และชี้แนวทางที่ถูกต้องแก่เด็ก ก็ควรจะเป็น "ระบบการศึกษา" โดยเฉพาะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ให้เด็ก รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองด้วย เพื่อป้องกันเหตุการณ์ร้ายๆ เหล่านี้จะตามมา...สร้างความเจ็บปวดให้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 
      ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับ "เด็กที่มีภาวะไม่ปกติเช่นนี้ เด็กเหล่านี้มักแยกตัวโดดเดี่ยว เศร้าและเหงาได้ง่าย ปลีกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน สังคม หรือแม้กระทั้งครอบครัว ไม่เชื่อใจและไว้ใจใครง่ายๆ เมื่อพบเจอปัญหาจะเก็บงำความทุกข์เอาไว้ แต่ส่วนใหญ่ที่ผู้เขียนเจอคือ "เด็กเหล่านี้บางคนเรียนเก่งมาก" และวิธีการแก้ปัญหาเพื่อเรียกร้องความสนใจคือ "การทำร้ายตัวเองหรือแม้กระทั้งการฆ่าตัวตายก็มี  สาเหตุเหล่านี้เกิดจากอะไรบ้าง (เฉพาะประสบการณ์ของผู้เขียนนะครับ)
     1. ความคาดหวังของพ่อแม่ ความคาดหวังของครอบครัวหรือคนใกล้ชิด เด็กบางคนมักจะถูกพ่อแม่เปรียบเทียบผลการเรียนระหว่างพี่น้องในบ้าน หรือคนข้างบ้าน มีเด็กบางคนมาร้องไห้กับผู้เขียนว่า พ่อแม่ชอบเอาพี่สาวซึ่้งเรียนโรงเรียนดังและได้ผลการเรียนดีเยี่ยมมาเปรียบเทียบกับตน ส่วนตนไม่ใช่ลูกรัก เลยแสดงพฤติกรรมด้านดีต่อหน้าพ่อแม่ แต่แสดงพฤติกรรมด้านลบในที่อื่นๆ ก็มี เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นแทนพ่อแม่หรือคนในครอบครัว หรือจากเเฟน เด็กมีภาวะเศร้าและไม่มีความสุขเมื่อพูดคุยเรื่องผลการเรียน พฤติกรรมหรือการเปรียบเทียบ
     2. การเอาใจใส่ลูกมากเกินไป หรือให้ความรักทะนุทะนอมเกินเหตุ ไม่ชี้แนวทางที่ถูกที่ควร เรียกง่ายๆ คือการตามใจลูกจนเสียคน อันนี้จะสร้างนิสัยให้เด็กไม่ยอมรับความจริง แข่งขันและต้องการชนะอย่างเดียว เอาแต่ใจและมีอารมณ์รุนแรงเมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เด็กบางคนเป็นเด็กมีปัญหา โดยเฉพาะเด็กเล็กที่พ่อแม่มีบุตรคนสุดท้อง เด็กโตบางคนอิจฉาน้อง เพราะแม่ตามใจน้อง ดุด่าพี่ โดยไม่อธิบายเหตุผล เกิดเป็นความเกลียจชังและไม่ชอบก็มี 
     3. พ่อแม่ที่ไม่ค่อยมีเวลาเลี้ยงลูก ปล่อยให้ลูกพบเจอปัญหาแต่เพียงลำพัง
     4. โรงเรียนขาดการชี้นำและแนะแนวทางที่ต้องถูกต้องต่อการปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคม การเผชิญหน้ากับปัญหา การเป็นที่ปรึกษาที่ดีของครูอาจารย์ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กอยู่ในสภาวะทุกข์ใจหรือไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะเด็กบางคนเมื่อมีปัญหาที่บ้าน ก็จะหวังพึ่งพาครูประจำชั้น หรือครูแนะแนว ครูที่ไว้ใจ หากครูไม่ได้ทำหน้าที่เป็นที่พึ่งพา ส่วนใหญ่จะขอคำแนะนำจากเพื่อน ซึ่งวุฒิภาวะของวัยเด็กยังไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้อย่างรอบคอบและมีเหตุผลเพียงพอ 
     5. เด็กบางคนมีปัญหาความคิดในด้านลบเสมอ เช่น ความอิจฉา ริษยา หรือกลัวคนอื่นได้ดี เพราะอาจเกิดจากปมในอดีตเช่น การไม่ได้รับความรัก การไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ ความน้อยใจ การนำตนเองไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น ส่วนใหญ่เป็นเด็กยากจนที่ต้องดิ้นรนต่อสู้มาก่อน และเกิดความทะเยอทะยานอยากเอาชนะก็เป็นไปได้  มีนิสัียเห็นแก่ตัวหรือไม่มีความจริงใจต่อใคร หวาดระแวงคิดเล็กคิดน้อย โดยตัวเด็กและพ่อแม่อาจจะไม่รู้ว่า ลูกมีลักษณะนิสัยอย่างนั้น (สิ่งที่ผมยกตัวอย่างมาเป็นเพียงกรณีศึกษาเฉพาะรายเท่านั้น)

เราควรปลูกฝังอะไรไว้ในสมองของเด็กปัจจุบันนี้บ้าง
     1. การแข่งขันกันเรียนหนังสือ เด็กบางคนทำเพื่อให้ได้คะแนนดีๆ ก็จะยอมทุจริต อับอายที่สอบตก เกิดภาวะเครียดสูงกับเด็กกลุ่มเก่ง ซึ่งแทนที่จะเป็นการเรียนเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง การรู้จักแพ้ชนะ เพราะอนาคตไม่ได้ขึ้นอยู่กับการศึกษาเล่าเรียนในระบบอย่างเดียว แต่หากขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนเช่น อุปนิสัย ทัศนคติ ความสามารถพิเศษ ความอดทน ความขยันและอื่นๆด้วย ครูต้องปลูกฝังว่า "เรียนเพื่อนำความรู้นั้นไปต่อยอดอะไร การเรียนเป็นการแข่งขันกับตัวเอง เพราะส่วนใหญ่ใช้ระบบตัดเกรดอิงเกณฑ์มาตรฐาน การเรียนเป็นการเรียนเพื่อการแบ่งบันและค้นหาสาระความจริง การเรียนไม่มีเเพ้ชนะ มีแต่คำว่า "รู้หรือไม่รู้ เข้าใจหรือไม่เข้าใจ" ดังนั้น การเรียนที่ดีควรจะช่วยเหลือกันในห้องเรียน การเเลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งการเเลกเปลี่ยนสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้มาถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด  ไม่ควรพูดถึงระบบการตัดเกรดที่เข้มงวดเกินไป ทำให้เด็กแย่งชิงเกรด แต่ควรเน้นปฏิสัมพันธ์กัน การอภิปรายแลกเปลี่ยน
     2.การศึกษาไม่มีวันจบสิ้น ควรปลูกฝังผู้เรียนว่า เมื่อเรียนจบ ตนจะต้องใช้ความรู้ที่มีต่อยอดจากของเดิม ไปจนถึงระดับการศึกษาที่สูงต่อไป....เกรดไม่ใช่ตัวชี้วัดความสำเร็จแต่เพียงอย่างเดียว แต่ความรู้ความสามารถที่แท้จริง ประสบการณ์ ความอดทน ทัศนคติ ความขยันและอื่นๆ ก็มีผลต่องานต่ออาชีพต่ออนาคต อาจจะยกตัวอย่างเช่น การลอกข้อสอบจนได้เกรด 4 เมื่อไปสอบเข้าเรียนต่อหรือไปทำงานจริง ก็อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะเราไม่มีความรู้ที่แท้จริง เป็นต้น
     3.สถาบันการศึกษา เด็กหลายคนเครียดมากเพราะยึดติดที่ตัวสถาบัน ครูหรือพ่อแม่ต้องลดแรงกดดันจากผลของความคาดหวังไว้บ้าง ในกรณีที่พ่อแม่อยากให้ลูกเข้าสถาบันดีดี เพราะคำพูดบางคำอาจจะทำให้เด็กรู้สึกกดดัน เช่น พ่อแม่เคยเรียนสถาบันดังๆ ก็อยากให้ลูกสู้และพยายามเข้าสถาบันเก่าให้ได้ แต่เลือกใช้คำที่ไม่ถูกไม่ควร ก็จะสร้างความหนักใจ จริงๆ ควรจะเน้นว่า ลูกชอบอะไร ลูกศิษย์ต้องการเรียนด้านไหนหรือมีความถนัดอะไร ให้เข้าได้แสดงศักยภาพด้านนั้นๆ จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะเราจะเห็นพ่อแม่บางคนชอบเปรียบเปรยว่า "เรียนแบบนี้จะออกมาทำงานอะไรกิน" และบางคนกำหนดเส้นทางเดินให้ลูกไว้เรียนร้อยแม้กระทั้งการเรียน การศึกษาต่อ จนลูกรู้สึกหนักใจ 
     4.การสร้างความเชื่อมั่นในตนให้แก่เด็ก ลดความเลื่อมล้ำในใจและลดปมด้อยในเด็ก ไม่ว่าจะลูกคนรวย คนจน หน้าตาอย่างไร ก็เป็นลูกศิษย์ไม่รักศิษย์หรือแสดงให้เห็นว่า ครูมีความลำเอียงเลือกที่รัก มักที่ชัง เน้นสร้างแรงจูงใจ ให้ประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง ไม่ควรนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับใคร สร้างกำลังใจแก่เด็ก และเด็กแต่ละคนเก่งและดีไม่เหมือนกัน

     มีนายเเพทย์ท่่านหนึ่งกล่าวว่า การเลี้ยงลูกจะต้องเลี้ยงแบบ 100: 70 : 50 : 20 หรือ (0) หมายถึง 1) ตอนเรียนอนุบาลประถม พ่อแม่ต้องชี้แนะและช่วยเหลือตัดสินใจต่อการเรียนของลูก 100%   2) 70  หมายถึง ตอนเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น พ่อแม่ควรช่วยเหลือลูก ดูแลใส่ใจแค่ 70%-50% ก็พอ 3) 50 หมายถึงมัธยมศึกษาตอนปลายพ่อแม่ควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแค่เพียง 50% -20% ก็พอ หรือให้ลูกได้เรียนรู้และตัดสินใจเอง ให้เขาได้ช่วยเหลือตัวเองให้มาก โดยพ่อแม่หรือครูควรเป็นผู้ชี้แนะและให้คำปรึกษาที่ดี ส่วนอันสุดท้ายคือ 20 หรือ 0 หมายถึง พ่อแม่ควรให้ลูกได้ตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิต การเรียนแค่ไม่เกิน 20% ในระดับปริญญา ซึ่งนักศึกษาบางรายยังต้องการคำปรึกษา การช่วยตัดสินใจอยู่ ดังนั้น เมื่อเด็กเริ่มโต หน้าที่ของพ่อแม่ควรเป็นผู้ให้คำแนะนำ แบ่งเบาความทุกข์ หัดสังกตุและเข้าใจสิ่งที่ลูกสื่อสารออกมา ให้เขาได้ตัดสินใจ ให้เขาได้หัดพบเจอความผิดพลาด และให้นำสิ่งที่ผิดพลาดไปแก้ไขปรับปรุงชีวิตให้ดี ไม่ใช่จมปรักอยู่กับความทุกข์นั้น

      ผมมักจะบอกเด็กๆ เสมอว่า พ่อแม่บางคนก็เป็นพ่อแม่ฝึกหัดตลอดเวลา เพราะในชั่วระยะชีวิตของคู่ชีวิตหนึ่งๆ มีลูกได้ไม่กี่คน ถ้าหากเลี้ยงลูกผิดพลาด ก็จะทุกข์ใจไปจนตาย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่สนใจรายได้ หาเงินเลี้ยงปากเลี้ยงท้องมาจนเกินไป เพียงแค่เหตุผลและการอธิบาย การพูดคุยสร้างความเข้าใจว่า พ่อแม่ต้องทำงานลำบาก อยากให้ลูกตั้งใจเรียน เห็นใจพ่อแม่ ให้ความรักความห่วงใย โดยเฉพาะการกอด การสร้างร้อยยิ้ม รู้จักแยกเรื่องงาน การเลี้ยงลูก ครอบครัวออกจากกัน และที่สำคัญประการหนึ่งคือ ปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดจากหลายกรณีที่ทำให้ลูกมีปัญหาครอบครัว คือ พ่อแม่ทะเลาะกัน หรือเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่ลูก 

   แน่นอนเราไม่ไม่ค่อยได้ยินข่าวว่า เด็กผลการเรียนต่ำฆ่าตัวตายเพราะเกรดตก หรือไม่ได้เรียนต่อ แต่ปัญญาที่เราควรสนใจในเด็กกลุ่มนี้คือ ปัญหาการเรียนแบบจากเกม หรือการติดเกม ปัญหายาเสพติด ปัญหาชู้สาว หากพ่อแม่และครูสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่วัยเยาว์แก่เด็กเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ได้ก็จะดี....................
 
      ผมก็หวังว่า ผมไม่อยากเห็นเด็กไทย ต้องฆ่าตัวตายเพราะไม่มีเงินเีรียน เด็กเกิดความเครียด อับอายที่ไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม เกิดความท้อใจและน้อยใจในวาสนาของชีวิต คนลำบากหาเช้ากินค่ำไม่ได้ ร่ำเรียนก็มีมาก ขอทานก็เยอะ คนสู้ชีวิตก็เยอะ เด็กควรได้แบบอย่างเช่นนั้นว่า "ชีวิตยังไม่โอกาสเสมอ แต่ถ้าเขาไม่มีโอกาสได้พูด ได้คิดหรือได้แสดงออก ได้รับไอ่อุ่น ได้รับคำปรึกษา หรือการช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ เขาจะต้องจบชีวิตด้วยการ "ตาย" เป็นรายต่อไปเรื่อยๆ อย่างแน่นอน


วชิ................