วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เด็กเรียนดี.....ที่ตายไป



     เป็นเรื่องหน้าเศร้าที่ปัจจุบันนี้เรามักจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับ "เด็กนักเรียนฆ่าตัวตาย หรือโดนทำร้ายร่างกายต่างๆ นานา โดยเฉพาะ "เด็กที่เรียนดี"
          เมื่อเร็วๆ นี้ครูได้ฟังข่าวจากทีวีและหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับ "เด็กนักเรียนติดเกม และเคยเป็นเด็กเรียนดีมาก่อน เมื่อผลการเรียนตกต่ำ เกิดภาวะเครียดและลงท้ายด้วยการผูกคอตาย หรือแม้กระทั้งภาพข่าวที่ครูได้นำมาเป็นภาพประจำบทความนี้ที่ว่า "ไม่มีค่าเทอม 2 พัน ดญ.ม.3 จนห้อยคอตายสลด@.....หรือถ้าหากจะไล่เหตุการณ์ที่เด็กๆ เหล่านี้ต้องเสียชีวิตก็มาจากหลายสาเหตุเช่น ผลการเรียนตกต่ำ สอบเข้ามหาวิทยาลัยดังๆ ที่คาดหวังไม่ได้ ติดเกม โดนพ่อแม่บังคับ โดนเพื่อนๆ ล้อเลียน เป็นต้น แต่ที่น่าเสียดายคือ เป็นเด็กตั้งใจเรียน...เมื่อเกิดความผิดหวัง ไม่ได้ดั่งใจก็ลงท้ายด้วยการ "ตาย" หรือแม้กระทั้งนิสิตมหาวิทยาลัยดังต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่องหน้าตา ความรัก การเรียน...หลายคนเลือกที่จะใช้ความ "ตาย" แก้ปัญหา

        ปัญหาเหล่านี้มันสะท้อนให้เห็นว่า "การเลี้่ยงดูของพ่อแม่หรือระบบการศึกษาไม่ดีหรือไม่" จึงเกิดเหตุการณ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือเกิดจากเหตุปัจจัยอะไรอื่้นอีกหรือเปล่า ซึ่งก็น่าจะเป็นสังคม บริบท สิ่งแวดล้อมต่างๆ ประสมปนเปกันไปหมด แต่ระบบที่ควรจะเข้มแข็งและเป็นสถานที่ที่ให้คำปรึกษา แนะนำ และชี้แนวทางที่ถูกต้องแก่เด็ก ก็ควรจะเป็น "ระบบการศึกษา" โดยเฉพาะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ให้เด็ก รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองด้วย เพื่อป้องกันเหตุการณ์ร้ายๆ เหล่านี้จะตามมา...สร้างความเจ็บปวดให้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 
      ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับ "เด็กที่มีภาวะไม่ปกติเช่นนี้ เด็กเหล่านี้มักแยกตัวโดดเดี่ยว เศร้าและเหงาได้ง่าย ปลีกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน สังคม หรือแม้กระทั้งครอบครัว ไม่เชื่อใจและไว้ใจใครง่ายๆ เมื่อพบเจอปัญหาจะเก็บงำความทุกข์เอาไว้ แต่ส่วนใหญ่ที่ผู้เขียนเจอคือ "เด็กเหล่านี้บางคนเรียนเก่งมาก" และวิธีการแก้ปัญหาเพื่อเรียกร้องความสนใจคือ "การทำร้ายตัวเองหรือแม้กระทั้งการฆ่าตัวตายก็มี  สาเหตุเหล่านี้เกิดจากอะไรบ้าง (เฉพาะประสบการณ์ของผู้เขียนนะครับ)
     1. ความคาดหวังของพ่อแม่ ความคาดหวังของครอบครัวหรือคนใกล้ชิด เด็กบางคนมักจะถูกพ่อแม่เปรียบเทียบผลการเรียนระหว่างพี่น้องในบ้าน หรือคนข้างบ้าน มีเด็กบางคนมาร้องไห้กับผู้เขียนว่า พ่อแม่ชอบเอาพี่สาวซึ่้งเรียนโรงเรียนดังและได้ผลการเรียนดีเยี่ยมมาเปรียบเทียบกับตน ส่วนตนไม่ใช่ลูกรัก เลยแสดงพฤติกรรมด้านดีต่อหน้าพ่อแม่ แต่แสดงพฤติกรรมด้านลบในที่อื่นๆ ก็มี เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นแทนพ่อแม่หรือคนในครอบครัว หรือจากเเฟน เด็กมีภาวะเศร้าและไม่มีความสุขเมื่อพูดคุยเรื่องผลการเรียน พฤติกรรมหรือการเปรียบเทียบ
     2. การเอาใจใส่ลูกมากเกินไป หรือให้ความรักทะนุทะนอมเกินเหตุ ไม่ชี้แนวทางที่ถูกที่ควร เรียกง่ายๆ คือการตามใจลูกจนเสียคน อันนี้จะสร้างนิสัยให้เด็กไม่ยอมรับความจริง แข่งขันและต้องการชนะอย่างเดียว เอาแต่ใจและมีอารมณ์รุนแรงเมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เด็กบางคนเป็นเด็กมีปัญหา โดยเฉพาะเด็กเล็กที่พ่อแม่มีบุตรคนสุดท้อง เด็กโตบางคนอิจฉาน้อง เพราะแม่ตามใจน้อง ดุด่าพี่ โดยไม่อธิบายเหตุผล เกิดเป็นความเกลียจชังและไม่ชอบก็มี 
     3. พ่อแม่ที่ไม่ค่อยมีเวลาเลี้ยงลูก ปล่อยให้ลูกพบเจอปัญหาแต่เพียงลำพัง
     4. โรงเรียนขาดการชี้นำและแนะแนวทางที่ต้องถูกต้องต่อการปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคม การเผชิญหน้ากับปัญหา การเป็นที่ปรึกษาที่ดีของครูอาจารย์ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กอยู่ในสภาวะทุกข์ใจหรือไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะเด็กบางคนเมื่อมีปัญหาที่บ้าน ก็จะหวังพึ่งพาครูประจำชั้น หรือครูแนะแนว ครูที่ไว้ใจ หากครูไม่ได้ทำหน้าที่เป็นที่พึ่งพา ส่วนใหญ่จะขอคำแนะนำจากเพื่อน ซึ่งวุฒิภาวะของวัยเด็กยังไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้อย่างรอบคอบและมีเหตุผลเพียงพอ 
     5. เด็กบางคนมีปัญหาความคิดในด้านลบเสมอ เช่น ความอิจฉา ริษยา หรือกลัวคนอื่นได้ดี เพราะอาจเกิดจากปมในอดีตเช่น การไม่ได้รับความรัก การไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ ความน้อยใจ การนำตนเองไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น ส่วนใหญ่เป็นเด็กยากจนที่ต้องดิ้นรนต่อสู้มาก่อน และเกิดความทะเยอทะยานอยากเอาชนะก็เป็นไปได้  มีนิสัียเห็นแก่ตัวหรือไม่มีความจริงใจต่อใคร หวาดระแวงคิดเล็กคิดน้อย โดยตัวเด็กและพ่อแม่อาจจะไม่รู้ว่า ลูกมีลักษณะนิสัยอย่างนั้น (สิ่งที่ผมยกตัวอย่างมาเป็นเพียงกรณีศึกษาเฉพาะรายเท่านั้น)

เราควรปลูกฝังอะไรไว้ในสมองของเด็กปัจจุบันนี้บ้าง
     1. การแข่งขันกันเรียนหนังสือ เด็กบางคนทำเพื่อให้ได้คะแนนดีๆ ก็จะยอมทุจริต อับอายที่สอบตก เกิดภาวะเครียดสูงกับเด็กกลุ่มเก่ง ซึ่งแทนที่จะเป็นการเรียนเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง การรู้จักแพ้ชนะ เพราะอนาคตไม่ได้ขึ้นอยู่กับการศึกษาเล่าเรียนในระบบอย่างเดียว แต่หากขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนเช่น อุปนิสัย ทัศนคติ ความสามารถพิเศษ ความอดทน ความขยันและอื่นๆด้วย ครูต้องปลูกฝังว่า "เรียนเพื่อนำความรู้นั้นไปต่อยอดอะไร การเรียนเป็นการแข่งขันกับตัวเอง เพราะส่วนใหญ่ใช้ระบบตัดเกรดอิงเกณฑ์มาตรฐาน การเรียนเป็นการเรียนเพื่อการแบ่งบันและค้นหาสาระความจริง การเรียนไม่มีเเพ้ชนะ มีแต่คำว่า "รู้หรือไม่รู้ เข้าใจหรือไม่เข้าใจ" ดังนั้น การเรียนที่ดีควรจะช่วยเหลือกันในห้องเรียน การเเลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งการเเลกเปลี่ยนสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้มาถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด  ไม่ควรพูดถึงระบบการตัดเกรดที่เข้มงวดเกินไป ทำให้เด็กแย่งชิงเกรด แต่ควรเน้นปฏิสัมพันธ์กัน การอภิปรายแลกเปลี่ยน
     2.การศึกษาไม่มีวันจบสิ้น ควรปลูกฝังผู้เรียนว่า เมื่อเรียนจบ ตนจะต้องใช้ความรู้ที่มีต่อยอดจากของเดิม ไปจนถึงระดับการศึกษาที่สูงต่อไป....เกรดไม่ใช่ตัวชี้วัดความสำเร็จแต่เพียงอย่างเดียว แต่ความรู้ความสามารถที่แท้จริง ประสบการณ์ ความอดทน ทัศนคติ ความขยันและอื่นๆ ก็มีผลต่องานต่ออาชีพต่ออนาคต อาจจะยกตัวอย่างเช่น การลอกข้อสอบจนได้เกรด 4 เมื่อไปสอบเข้าเรียนต่อหรือไปทำงานจริง ก็อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะเราไม่มีความรู้ที่แท้จริง เป็นต้น
     3.สถาบันการศึกษา เด็กหลายคนเครียดมากเพราะยึดติดที่ตัวสถาบัน ครูหรือพ่อแม่ต้องลดแรงกดดันจากผลของความคาดหวังไว้บ้าง ในกรณีที่พ่อแม่อยากให้ลูกเข้าสถาบันดีดี เพราะคำพูดบางคำอาจจะทำให้เด็กรู้สึกกดดัน เช่น พ่อแม่เคยเรียนสถาบันดังๆ ก็อยากให้ลูกสู้และพยายามเข้าสถาบันเก่าให้ได้ แต่เลือกใช้คำที่ไม่ถูกไม่ควร ก็จะสร้างความหนักใจ จริงๆ ควรจะเน้นว่า ลูกชอบอะไร ลูกศิษย์ต้องการเรียนด้านไหนหรือมีความถนัดอะไร ให้เข้าได้แสดงศักยภาพด้านนั้นๆ จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะเราจะเห็นพ่อแม่บางคนชอบเปรียบเปรยว่า "เรียนแบบนี้จะออกมาทำงานอะไรกิน" และบางคนกำหนดเส้นทางเดินให้ลูกไว้เรียนร้อยแม้กระทั้งการเรียน การศึกษาต่อ จนลูกรู้สึกหนักใจ 
     4.การสร้างความเชื่อมั่นในตนให้แก่เด็ก ลดความเลื่อมล้ำในใจและลดปมด้อยในเด็ก ไม่ว่าจะลูกคนรวย คนจน หน้าตาอย่างไร ก็เป็นลูกศิษย์ไม่รักศิษย์หรือแสดงให้เห็นว่า ครูมีความลำเอียงเลือกที่รัก มักที่ชัง เน้นสร้างแรงจูงใจ ให้ประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง ไม่ควรนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับใคร สร้างกำลังใจแก่เด็ก และเด็กแต่ละคนเก่งและดีไม่เหมือนกัน

     มีนายเเพทย์ท่่านหนึ่งกล่าวว่า การเลี้ยงลูกจะต้องเลี้ยงแบบ 100: 70 : 50 : 20 หรือ (0) หมายถึง 1) ตอนเรียนอนุบาลประถม พ่อแม่ต้องชี้แนะและช่วยเหลือตัดสินใจต่อการเรียนของลูก 100%   2) 70  หมายถึง ตอนเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น พ่อแม่ควรช่วยเหลือลูก ดูแลใส่ใจแค่ 70%-50% ก็พอ 3) 50 หมายถึงมัธยมศึกษาตอนปลายพ่อแม่ควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแค่เพียง 50% -20% ก็พอ หรือให้ลูกได้เรียนรู้และตัดสินใจเอง ให้เขาได้ช่วยเหลือตัวเองให้มาก โดยพ่อแม่หรือครูควรเป็นผู้ชี้แนะและให้คำปรึกษาที่ดี ส่วนอันสุดท้ายคือ 20 หรือ 0 หมายถึง พ่อแม่ควรให้ลูกได้ตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิต การเรียนแค่ไม่เกิน 20% ในระดับปริญญา ซึ่งนักศึกษาบางรายยังต้องการคำปรึกษา การช่วยตัดสินใจอยู่ ดังนั้น เมื่อเด็กเริ่มโต หน้าที่ของพ่อแม่ควรเป็นผู้ให้คำแนะนำ แบ่งเบาความทุกข์ หัดสังกตุและเข้าใจสิ่งที่ลูกสื่อสารออกมา ให้เขาได้ตัดสินใจ ให้เขาได้หัดพบเจอความผิดพลาด และให้นำสิ่งที่ผิดพลาดไปแก้ไขปรับปรุงชีวิตให้ดี ไม่ใช่จมปรักอยู่กับความทุกข์นั้น

      ผมมักจะบอกเด็กๆ เสมอว่า พ่อแม่บางคนก็เป็นพ่อแม่ฝึกหัดตลอดเวลา เพราะในชั่วระยะชีวิตของคู่ชีวิตหนึ่งๆ มีลูกได้ไม่กี่คน ถ้าหากเลี้ยงลูกผิดพลาด ก็จะทุกข์ใจไปจนตาย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่สนใจรายได้ หาเงินเลี้ยงปากเลี้ยงท้องมาจนเกินไป เพียงแค่เหตุผลและการอธิบาย การพูดคุยสร้างความเข้าใจว่า พ่อแม่ต้องทำงานลำบาก อยากให้ลูกตั้งใจเรียน เห็นใจพ่อแม่ ให้ความรักความห่วงใย โดยเฉพาะการกอด การสร้างร้อยยิ้ม รู้จักแยกเรื่องงาน การเลี้ยงลูก ครอบครัวออกจากกัน และที่สำคัญประการหนึ่งคือ ปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดจากหลายกรณีที่ทำให้ลูกมีปัญหาครอบครัว คือ พ่อแม่ทะเลาะกัน หรือเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่ลูก 

   แน่นอนเราไม่ไม่ค่อยได้ยินข่าวว่า เด็กผลการเรียนต่ำฆ่าตัวตายเพราะเกรดตก หรือไม่ได้เรียนต่อ แต่ปัญญาที่เราควรสนใจในเด็กกลุ่มนี้คือ ปัญหาการเรียนแบบจากเกม หรือการติดเกม ปัญหายาเสพติด ปัญหาชู้สาว หากพ่อแม่และครูสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่วัยเยาว์แก่เด็กเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ได้ก็จะดี....................
 
      ผมก็หวังว่า ผมไม่อยากเห็นเด็กไทย ต้องฆ่าตัวตายเพราะไม่มีเงินเีรียน เด็กเกิดความเครียด อับอายที่ไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม เกิดความท้อใจและน้อยใจในวาสนาของชีวิต คนลำบากหาเช้ากินค่ำไม่ได้ ร่ำเรียนก็มีมาก ขอทานก็เยอะ คนสู้ชีวิตก็เยอะ เด็กควรได้แบบอย่างเช่นนั้นว่า "ชีวิตยังไม่โอกาสเสมอ แต่ถ้าเขาไม่มีโอกาสได้พูด ได้คิดหรือได้แสดงออก ได้รับไอ่อุ่น ได้รับคำปรึกษา หรือการช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ เขาจะต้องจบชีวิตด้วยการ "ตาย" เป็นรายต่อไปเรื่อยๆ อย่างแน่นอน


วชิ................

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

จิตวิทยาสำหรับเด็ก เก(ย์)เร

จิตวิทยาสำหรับเด็ก เก(ย์)เร

     การเรียนการสอนในปัจจุบัน เป็นเรื่องยากและท้าท้ายสำหรับครูอาจารย์ในโรงเรียน ปัจจุบันนี้อะไรๆ ก็เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นสังคม เศรษฐกิจ การเมือง หรือพฤติกรรมกรรมของคนในสังคม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางด้านการบริหารจัดการการศึกษา พฤติกรรมของเด็ก การเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยี สภาพแวดล้อมต่างๆ ในสังคมปัจจุบัน สิ่งหนี่งที่บรรดาคุณครู พ่อแม่หนักใจ คือปัญหาเด็กเก(ย์)เร จากประสบการณ์ตรงที่เคยสอนในโรงเรียน จึงอยากที่จะแชร์ประสบการณ์เพื่อเป็นแนวทางให้อีกหลายๆ คนได้ศึกษา
     เมื่อพูดถึง เด็กเก(ย์) เร ในความเข้าใจของผมคือ ชายรักชายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ไบ (ชายก็ได้หญิงก็ได้)  เกย์( ชายรักชาย แต่ไม่อยากเป็นหญิง) และ กะเทย (ชายรักชาย แต่อยากเป็นหญิง) ส่วนคำว่า "เก(ย์) เร" จะรวมๆ ไปว่า เด็กที่มีพฤติกรรมเกเร เช่น มีพฤติกรรมก้าวราว พูดจาหยาบคาย ชอบความรุนแรง สมาธิสั้น เป็นต้นโดยจะเน้นให้เห็นถึงปัญหาพฤติกรรมของชายแท้ กับชายเทียมในเรื่องของความ   เก(ย์)เร
     ในความคิดส่วนตัวต้องบอกว่า ตลอดระยะเวลาของการเป็นครูมา เมื่อเห็นกะเทยเด็กผมจะนึกภาพของเด็กคนนี้ไปอีกยาวไกล แต่ส่วนใหญ่คือ สงสาร ยิ่งเป็นกะเทยเด็กสมัยก่อน รู้สึกว่า พวกเธอโดนเอาเปรียบทางด้านความคิด การแสดงออกไม่น้อยในโรงเรียน เกย์กระเทยส่วนใหญ่ส่วนหนึ่งเกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา นอกนั้นคือ สภาพแวดล้อม สังคม การเลี้ยงดูในครอบครัว จากการสำรวจพบว่า เกย์-กะเทยส่วนใหญ่ เกิดความเครียด สับสน วิตกกังวล กลัวถูกสังคมรังเกียจตั้งแต่วัยเด็ก และอาจจะมีผลต่อพัฒนาการทางความคิดและร่างกายของคนเหล่านี้ โดยปัญหาต่างๆ มักเกิดกับกะเทยในวัยเรียน เช่น ถูกเพื่อนล้อเลียน แกล้งหรือทำร้ายร่างกาย ล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น
     ครูควรมีวิธีการจัดการปัญหานี้อย่างไร?
     คำตอบคือ ไม่มีวิธีใดดีที่สุด แต่จะเน้นให้เห็นถึงความเข้าใจของ พฤติกรรมของเด็กทั้งที่เป็นเกย์ กะเทยและเด็กผู้ชายที่มีปัญหา
      ถ้าหากผู้ปกครองหรือครูเข้าใจข้อความด้านบนที่ว่า "เกย์กะเทยเกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของเด็ก" จะเห็นได้ว่า เด็กตุ๊ดเกย์เหล่านั้นไม่ได้มีความผิดอะไรเลย ทางการแพทย์ทั่วโลกยืนยันว่า การเป็นตุ๊ดเกย์เป็นเรื่องปกติ เขาไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด และผมก็เชื่อว่า "ไม่มียาขนานใดรักษาความเป็นเกย์เป็นตุ๊ดได้" แค่ปกปิดหรือซ่อนเร้นไว้ภายในใจได้ จะได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความเคยชินและสภาพแวดล้อมที่เด็กเติบโตมา เช่น
     1) บางคนเติบโตมาจากครอบครัวที่พ่อแม่ยอมรับ พ่อแม่พยายามเข้าใจลูก รักลูกและให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา ส่งเสริมลูกไปในทางที่ดี จากสถิติเราพบว่า ไม่ว่าจะเป็นเกย์ คือ แสดงออกบ้างว่าเป็นกลุ่มรักเพศเดียวกัน หรือกะเทยเด็ก คือ แสดงอาการคล้ายหญิงตั้งแต่วัยเยาว์หรือเรียกว่า "ตุ๊ดเด็กหัวโปก" 55+ โดยเฉพาะบางรายที่แสดงอากัปกิริยาเกินเหตุ ก็เห็นมีมากในโรงเรียน คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีความเครียดน้อย มีความคิดและจินตนาการ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าชายหญิงปกติ เพลอๆ มีคนมักจะแซวเล่นๆ ว่า คนที่ไปเรียนหมอ ทันตะ หรือวิศวกร เดี๋ยวนี้มีแต่เกย์ หรือสถาบันการศึกษาดังๆ บางคณะมีแต่เกย์ที่สอบเข้าเรียนต่อได้ เด็กกลุ่มนี้เติบโตจาก พ่อแม่ โรงเรียนและครูที่ให้การยอมรับ และพัฒนาทักษะ ประสบการณ์ของเด็กโดยไม่ปิดกั้น
     2) บางคนเกิดจากครอบครัวที่เข้มงวด ดุด่า ไม่ยอมรับพฤติกรรมเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่มีความเครียดมาก เก็บตัว โดดเดียว และมีภาวะซึมเศร้าเยอะกว่าพวกแรก มีความคาดหวังในชีวิตสูงแต่ผสมผสานไปด้วยความหวาดกลัว ไม่กล้าสู้ เป็นต้น อย่างเช่นผมเคยมีเพื่อนที่พ่อเป็นนักมวย เวลาเพื่อนคนนี้อยู่บ้านจะทำตัวเป็นชาย แต่อยู่ในโรงเรียนจะเป็นหญิง (แสดงพฤติกรรมออกมามาก) เขาบอกผู้เขียนว่าอึดอัด และต้องพยายามเก็บความเป็นตัวตนเอาไว้ เพราะกลัวโดนทำโทษ หวาดกลัวและอับอายเมื่อถูกล้อเลียน
     3) บางคนอาจจะเกิดมากึ่งๆ กลางๆ ผมหมายถึงไม่ต่อต้านแต่ไม่สนับสนุน ค่อนข้างไปทางไม่ใส่ใจ หรือทำใจ กลุ่มนี้จะปล่อยให้เด็กคิด และตัดสินใจเองตั้งแต่เด็ก ไม่สนใจดูแลเลี้ยงดู เพราะเหมือนกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ได้แต่ยอมรับ เด็กกลุ่มนี้บางคนก็เก็บตัวเงียบ มีครอบครัวแต่รู้สึกไม่อบอุ่น ต้องการความรักจากภายนอก บางคนก็ระเบิดเถิดเทิง แสดงออกมาก

   และมีอีกหลายกรณีโดยสรุปใหญ่ๆ เช่น พ่อแม่ไม่ยอมรับ ต้องปกปิดตัวเอง หรือเรียกว่าแอ๊บแมน ไปจนถึงแสดงออกเปิดเผย กะโหลกะลาได้ตามสบาย มีทั้งที่มีความเครียดสะสมมาก เก็บตัว เก็บกด ความต้องการสูง กลัว อับอายไปจนถึงมั่นใจ(มั่นหน้า) แสดงออก วิ๊ดว้าย แสดงตนเกินหญิง มีทั้งที่ครอบครัวยากจน (เทยเด็กอนาถา) ไปจนถึงตุ๊ดเด็กร่ำรวย พ่อแม่มีเงินมีทอง แต่ทุกคนมีเหมือนกันคือ รักเพศเดียวกัน ส่วนใหญ่คือชอบผู้ชายแท้ๆ แล้วอกหัก คาดหวังสูงกับความรัก เพ้อฝัน เพ้อเจอ มีโลกนวนิยายความรักเฉพาะตัวสูงมาก

ดังนี้น ครูควรจัดการเกี่ยวกับความคิดของตัวครูเองเสียก่อน เป็นเพื่อนและให้คำปรึกษาสำหรับเด็กกลุ่มนี้ เข้าใจและเห็นใจ โดยเฉพาะให้คำปรึกษาเรื่องความรัก คอยปรับ คอยให้คำแนะนำในการเรียนให้เด็กกลุ่มนี้ สามารถดึงพลังในตัว หรือความสามารถ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีความสามารถพิเศษที่หลากหลายเกินหญิงทั่วไป เช่น การฟ้อนรำ หรืออะไรๆ ที่เกินหญิง เขาเหล่านี้สามารถทำได้ แต่ต้องควบคุมให้อย่าเกินงามและ ต้องปรับพฤติกรรมการรับรู้ของเพื่อนๆ ให้เห็นว่า เพศที่แตกต่างเป็นเรื่องปกติ

    ส่วนสาเหตุเด็กเกเร มีจากหลายสาเหตุ ใหญ่ๆ คือ ขาดความอบอุ่น และเรียกร้องความสนใจ โดยเฉพาะจิตวิทยาสำหรับเด็กในช่วงมอต้น จะเข้าใจดีว่าเด็กกลุ่มนี้ มีระดับฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนแปลง มีอารมณ์อ่อนไหว เศร้าและสนุกได้ง่าย เริ่มมีโลกส่วนตัวสูง มีความรักและเข้ากลุ่มเพื่อน โดยคิดว่าเพื่อนสำคัญ พฤติกรรมห่างไกลจากพ่อแม่ และคิดว่าตัวเองโตเป็นผู้ใหญ่ จริงๆ แล้วผู้เขียนเคยดูสารคดีเกี่ยวกับเด็กเกเร ที่หลุดออกจากระบบทางการศึกษา สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า "เขาน่าสงสารคือ เขาไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนที่เรียนดี ครู และพ่อแม่ก็มีแต่ดุด่า ไร้เหตุผล" เด็กคนนั้นร้องไห้ และเขาแค่ต้องการให้คุณครูรับรู้ว่าเขามีตัวตนในห้องเรียน เวลาเขาตอบคำถามผิดครูชอบด่า ว่า "โง่" และไม่ตั้งใจเรียน สิ่งนี้ทำให้เขารู้สึกว่า เขายิ่งห่างจากห้องเรียนและคนอื่นๆ เพิ่มขึ้น

   ด้วยความเป็นเด็ก (วัยรุ่น) คุณครูจะต้องเข้าใจว่า เด็กแต่ละคนมีครอบครัว มีสังคม มีพื้นฐานทางการเรียนแตกต่างกันมากในห้องเรียนหนึ่งๆ ผสมกับวัยของเด็กที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเราต้องหัดสังเกตุว่า เขาน่าจะมีการเปลี่ยนแปลง 3 ด้านคือ ด้านร่างกาย (Growth) ด้านวุฒิภาวะ (Maturation) และด้านการเรียนรู้ (learning) ต่างกัน ดังนั้นการเข้าใจเด็กแต่ละคน คนเป็นครูจะต้องทำการบ้านอย่างหนัก และสร้างความเชื่อใจให้เกิดขึ้นแก่เด็ก เมื่อใดก็ตามที่เด็กเชื่อใจเรา มองว่าเราคือที่พึ่งพา เขาจะสะท้อนปัญหาต่างๆ ภายใจจิตใจของเขาออกมา แล้วเราจะแก้ไขให้ถูกจุดได้ง่าย จริงๆ แล้วคุณครูหลายคน ควรเปลี่ยนทัศนคติใหม่ว่า "เด็กเก(ย์)ต่างหากที่คุณครูควรสนใจเขา สนใจแก้ปัญหาเด็กมีปัญหา มีปมด้อยต่างๆ มากกว่าเด็กที่มีภูมิคุ้มกันที่ดีอยู่แล้ว เพื่อให้ลูกศิษย์ของเราเติบโตไป และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างดี เช่น
     1. ไม่ว่าจะเด็กเกย์ หรือเด็กเกเร ต่างก็ต้องการความรัก ความเข้าใจ ความเชื่อมั่นในตน เห็นเขามีความสำคัญไม่แพ้เด็กคนอื่นๆ ได้รับการยอมรับจากสังคมไม่ใช่การดูถูก เหยียดหยาม ทำให้บางคนต้องพบเจอภาวะหลบซ่อนพฤติกรรม ไม่กล้าแสดงออก ขาดกลัวจากจากคำดูถูกเหยียดหยามของเพื่อน ของครู พ่อแม่ ครูต้องขจัดปัญหาเหล่านี้ให้เด็กๆ ในห้องเรียนของคุณเท่าเทียมเสมอภาคกัน
     2. เป็นที่ปรึกษาที่ดี จำไว้ว่า ถ้าการดุด่าส่งผลต่อการแก้ปัญหาของเด็กควรทำ แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ผล การเข้าใจเด็กและให้คำแนะนำที่ดี สร้างความเชื่อถือต่อเด็ก จะได้ผลต่อการแก้ปัญหาของเด็ก มากกว่าการลงโทษ โดยเฉพาะวิธีการที่ทำให้เด็กอาย เสื่อมเสีย ไม่ควรทำเด็ดขาด
     3. ส่งเสริมกิจกรรมที่เด็กได้ใช้ความคิด ความสร้างสรรค์ และตามจินตนาการของเด็ก อย่าปิดกั้นแต่ให้คำแนะนำหรือแนวทางที่ดีและเป็นไปได้

จากสิ่งที่ผู้เขียนพูดมาจะเห็นว่า การที่เด็กถูกทำให้เก็บกดตั้งแต่เด็กๆ พฤติกรรมของเด็กเหล่านี้แสดงออกให้เห็นดังนี้เช่น
    1. จำพวกตั้งใจเรียน บ้าเรียน ขยันทำงานไปจนโต ชดเชยความด้อยค่าที่รู้สึกเกิดมาแพ้ชายจริงหญิงแท้ ให้เห็นว่าตนเก่งกว่าดีกว่าคนเหล่านั้น เพราะรู้สึกว่าตนมีปมด้อย ถูกถากถางและได้รับคำอับอาย
    2. เก็บกด เก็บซ่อนความจริง ไม่กล้าเปิดเผยความจริง อายและขาดกลัว บางรายโตไปแต่งงานกับผู้หญิงและเข้าใจว่า "ตนไม่สามารถใช้ชีวิตจริงกับผู้หญิง" สร้างภาพหลอกตัวเองและผู้อื่น
   3. แสดงออกเกินกว่าเหตุ ใช้การกินและการแสดงออก ส่วนใหญ่เป็นเกย์หรือกะเทยอ้วนแล้วแสดงออกเยอะเป็นพิเศษ การแสดงออกมากๆ เป็นการชดเชยสิ่งที่ไม่มี เป็นภาวะลืมตัวหรือไม่เข้าใจว่าตัวเองต้องการเป็นเพศอะไร ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เราคงไม่อยากให้เด็กของเราเศร้า และทุกข์ทรมานไปตลอดชีวิต

ปัญหาส่วนใหญ่ของเด็กเก(ย์) คือ 1.ปัญหาการได้รับการยอมรับจากเพื่อน พ่อแม่ 2.ปัญหาเรื่องความรักและเพศสัมพันธ์ (อันนี้รุนแรง) 3.ปัญหาทางด้านร่างกาย เช่น การกินยาคุมกำเนิด ใช้วิธีเสริมความงามแบบผิด 4.ปัญหาทางสังคมเช่น การปรับตัวกับผู้ใหญ่ พ่อแม่ เป็นต้น



สิ่งที่ผู้เขียนบรรยายมา อาจจะไม่ใช่ชีวิตจริงหรือประสบการณ์ที่ท่านพบเจอมาทั้งหมด มันเป็นส่วนน้อยเท่านั้นที่เคยประสบมา แต่ในฐานะครูก็อยากให้ทุกคนเข้าใจ และยอมรับเด็ก ๆ กลุ่มนี้ให้มากๆ เราควรจะตั้งปณิธารว่า จะฉุดดึงเด็กเกย์เร กลุ่มนี้ขึ้นมาจากความทุกข์ที่มาแต่กำเนินได้อย่างไร ให้เขาสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างภาคภูมิใจ ไม่ใช่จำใจทำหรือเก็บกดต้องทำ ต้องฝืนความเป็นธรรมชาติของจิตใจของพวกเธอ น้อยคนจะรู้ว่า "เขาเหล่านั้นคิดอะไร เมื่อไม่มีใครเขาใจเขาจริงๆ สักคน"


ข้อควรจำ
1.ผู้ปกครองและครูควรเข้าใจว่า เป็นเกย์ กะเทย ไม่ได้ป่วย กินยาพาราหรือยาขนานใดๆ ก็หาย ถ้าจะรักษาหรือให้พบจิตแพทย์ ควรเป็นพ่อแม่หรือครู เพราะมันรักษาไม่หาย

สุดท้ายนี้ที่ผมบรรยายไปอาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด....มันเป็นแค่เพียงความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น
วชิรวิทย์ ยางไชย..

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทิศทางทางการศึกษา...มาถูกทางแล้วหรือ?

ที่มาของรูป: เว็บไซท์ ประชาชาติ

       ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในหลายๆ ปีเช่น 2552-2553 จะเห็นว่ากลุ่มแรงงานในประเทศที่ว่างงานมากที่สุดคือ กลุ่มแรงงานในระดับปริญญาตรี หลายคนสงสัยและทำไมจึงเป็นเช่นนั้น การพัฒนาระบบการศึกษาของคนในชาติกำลังประสบกับปัญหาอะไรอยู่?
       สมัยผมทำ Thesis ในระดับปริญญาโทที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมเคยอ่านงานวิจัยของสภาพัฒน์ฯและจุฬาเล่มหนึ่ง ในความคิดเห็นส่วนตัวเห็นว่า งานวิจัยดีๆ ควรจะถูกเผยแพร่ และให้ข้อมูลแก่เด็ก ผู้ปกครอง ในช่วงที่เป็นครูมัธยมก็พยายามที่จะปรับความคิด ความเข้าใจให้แก่ลูกศิษย์ หากวันข้างหน้าเขาจะได้ไม่ลำบาก เพราะผมมีประสบการณ์ในการสอนทั้งในระดับ มัธยม อาชีวะและมหาวิทยาลัย เลยเข้าใจความแตกต่างทางความคิด ค่านิยม สังคมและความต้องการของคนเป็นอย่างดี
        แม้ว่ารัฐบาลจะเข้าใจดีว่า ความต้องการแรงงานในประเทศส่วนใหญ่ ไม่ใช่แรงงานที่มีคุณวุฒิสูงหรือระดับปริญญามากนัก แต่เราต้องการนักปฏิบัติหรือช่างเทคนิคชั้นสูงที่สามารถตอบสนองต่อบริษัท โรงงานต่างๆ ตามความคาดหมายว่า เราจะเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ที่ต้องการแรงงานช่างฝีมือเหล่านี้ เพราะแรงงานเหล่านี้เป็นแรงงานทักษะ และมีฝีมือช่างชำนาญกว่าสายวิชาการที่เรียนกันมากในมหาวิทยาลัย อีกทั้งค่าจ้าง สวัสดิการก็ถูกกว่า เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพของงานที่ควรจะเป็น รัฐบาลพยายามตั้งเป้าว่า อีกสิบปีข้างหน้า (2563) จะเปลี่ยนผู้เรียนในสายสามัญ (มัธยม) ให้มาเรียนอาชีวะ หรือคิดเป็นอัตราส่วน สายอาชีวะต่อสายสามัญ เป็น 60:40 แต่เมื่อดูแนวโน้มในปัจจุบันแล้วน่าใจหาย!!
       ทำไมผมจึงพูดเช่นนี้ บัณฑิตจบใหม่ที่จบสายสังคมศาสตร์ กำลังล้นตลาดในเมืองไทย แทบจะทุกมหาวิทยาลัยต้องเปิดสอนสาขาเหล่านี้ เช่น บริหาร บัญชี การตลาด รัฐประศาสนาศาสตร์ ฯปัจจุบันนี้ฮิตฮอต เปิดสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์เช่น วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ โดยไม่ดูศักยภาพและความพร้อมของอุปกรณ์และบุคลากรในสถาบันของตน ความเป็นจริงแล้ว ผู้หลักผู้ใหญ่หรือผู้บริหารในสถาบันการศึกษาเคยสำรวจจริงๆ จังๆ หรือไม่ว่า บัณฑิตที่ท่านผลิตออกมา ส่วนใหญ่ทำงานตรงกับที่เรียน หรือความรู้ที่สอนๆ กันมันใช้ได้จริงมากน้อยเพียงไร โดยเฉพาะปัจจุบันที่มหาวิทยาลัยน้อยใหญ่ต่างออกนอกระบบกันหมด การพึงพาเงินงบประมาณจากรัฐอย่างเดียว มหาวิทยาลัย/วิทยาลัย ทั้งของรัฐและเอกชน ต้องดิ้นรน หาทางรอด ด้วยการเปิดหลักสูตรเรียกเงิน ทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ ที่สำคัญคือ จำนวนผู้เรียนที่เพิ่มสูงขึ้นสวนทางกับจำนวนครูอาจารย์ที่รับผิดชอบที่มีจำนวนไม่เพียงพอ
       ตอนนี้ปัญญามหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรแปลกๆ เปิดศูนย์การศึกษานอกวิทยาเขตเยอะแยะเต็มไปหมด โดยเฉพาะบัณฑิตศึกษาในระดับปริญญาโทภาค ข ประเภทจ่ายครบ จบเเน่เยอะแยะเต็มไปหมด น่าสงสารคนไทย "เดี๋ยวนี้กลายเป็นปริญญานิยมไปซะหมด" ถ้าลูกหลานได้เข้ารับปริญญาบัตรจากเจ้าจากนาย ถือเป็นความภาคภูมิใจ แต่หลายคนจบมา ต้องมานั่งๆ นอนๆ อยู่กับบ้านเพราะหางานทำไม่ได้ บางคนก็ได้งานทำที่ต่ำกว่าวุฒิการศึกษา หลายคนอายที่จะบอกว่า "ฉันจบปริญญาแต่ใช้วุฒิมอหกทำงาน"  สิ่งเหล่านี้เป็นเพราะอะไร?
     1. คนไทยยึดติดกับปริญญาบัตร (ปริญญานิยม) แต่ไม่สนใจความถนัดและศักยภาพที่มีของตัวเอง พ่อแม่ก็คาดหวังให้ลูกได้ปริญญาสักใบ เพราะคาดหวังว่า ปริญญาคือใบเบิกทางของครอบครัวและความมั่นคง
     2. มหาวิทยาลัยสมัยนี้ต่างเปิดหลักสูตรล่อใจ ดึงดูดให้เด็กเข้ามาเรียนมากๆ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเกิดใหม่ (ตระกล้าใบที่สาม) ซึ่งไม่มีเป้าหมายหรือไม่สร้างเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของตนเอง ผมมองว่า มหาวิทยาลัยควรเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง นี้เปิดหลักสูตรใหม่ๆ ดึงดูดผู้เรียนแต่ไม่คำนึงถึงความพร้อมและศักยภาพทางการบริหาร การจัดการและการสอน
     3. ผู้เรียนสาย ปวช. ปวส. ซึ่งเป็นกำลังหลักของการพัฒนาประเทศมีจำนวนน้อยลง เพราะข้อมูลวิจัยระบุว่า บริษัท/โรงงานต่างๆ ต้องการคุณวุฒิระดับนี้มากถึงร้อยละ 50 ของจำนวนแรงงงานทั้งหมด แต่ผู้เรียนสายมัธยมศึกษาตอนต้นเลือกที่จะเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี มากกว่าเรียนสายอาชีวะศึกษา
     4.สถาบันการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ต่างแข่งขันให้เด็กสอบเข้าสถาบันดังๆ ดีๆ สร้างค่านิยมผิดๆ ให้แก่ผู้เรียน แทนที่จะให้ผู้เรียนประเมินความสามารถ ค้นหาความถนัดและตรงกับศักยภาพของตัวเอง เช่น ผู้เรียนไม่สามารถเรียนสายสามัญได้ พ่อแม่/โรงเรียนก็ไม่อยากให้ลูกเรียน สายอาชีวะศึกษาเพราะมองว่าไม่มีอนาคต รายได้ต่ำกว่าคนจบปริญญาตรี ภาพลักษณ์ความรุนแรงเป็นต้น
     5. การศึกษาในปัจจุบันเน้นเนื้อหาวิชามากกว่า การปฏิบัติ แม้กระทั้งในระดับ ปวช.ปวส เองก็มีข้อควรคำนึงว่า การศึกษาในปัจจุบัน เด็กอาชีวศึกษาเก่งปฏิบัติจริงหรือ เพราะมีข้อบ่งชี้ว่า เด็กกลุ่มนี้ยังมีทักษะทางด้านสังคม การสื่อสาร(ภาษาอังกฤษ)และฝีมือช่างต่ำและไม่สอดคล้องกับอุปกรณ์ เทคโนโลยีใหม่ๆ ของบริษัท โรงงาน ที่เปลี่ยนเเปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่ระบบการสอนยังเดิมๆ หรือล้าหลังอยู่
      

    สุดท้ายนี้ผมก็หวังว่า ค่าแรงวุฒิปริญญาตรี 15,000 บาทจะไม่ทำให้บริษัท โรงงานห้างร้านต่างๆ ไม่ต้องการคนจบปริญญาตรี ไหนจะค่าจ้าง สวัสดิการ ค่าตอบแทนพิเศษ ขนาดการบริหารจัดการภาครัฐยังวุ่นวายมีปัญหาสารพัดกับโครงการเหล่านี้ คนจบปริญญาตรี คงต้องพิจารณาให้ดีว่า "เรียนเอาทักษะวิชาชีพ เอาความรู้จริงๆ สอดคล้องกับความต้องการของตนเอง มีใจรักให้กับเนื้อหาวิชา ศาสตร์ที่ตัวเองเลือกเรียนหรือไม่ หรือแค่เอากระดาษไม่กี่แผ่น และเลือกเพราะตามคนอื่น เช่น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ และเพื่อน หากเป็นเช่นนั้น คงไม่อยากนึกฝันว่า วันข้างหน้าเราจะได้เห็นว่า
              "ปริญญาตกงานหลายแสนคน อาจจะเป็นล้านๆ คน รวมไปถึงปริญญาโท ปริญญาเอกเดินเตะฝุ่นข้างทาง เพราะคิดแต่จะได้ปริญญา แต่ไม่มีความรู้"

        การเลือกสถาบันการศึกษาก็มีผลกับตัวเด็กและตัวของเรา สิ่งสำคัญที่เราต้องคิดว่า "เราเรียนไปเพื่ออะไร อยากเป็นอะไร สถาบันการศึกษาเหล่านั้นตอบโจทย์ให้เราได้มากน้อยแค่ไหน เพราะเมื่อเลือกเดินทางไปแล้วจะถูกหรือผิด ก็ยากที่จะย้อนมาเดินใหม่ ควรคิดให้รอบครอบในสภาวะปัจจุบันที่มหาลัยส่วนใหญ่ในประเทศไทย เป็นมหาวิทยาลัยผลิตกระดาษ ผลิตบุคคลให้ท่องจำแต่เนื้อหาวิชาในหนังสือ ออกข้อสอบยากๆ แต่แทบจะไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์อะไร งานวิจัยส่วนใหญ่ก็อยู่บนหิ้ง ฝุ่นหนาเป็นกิโลๆ เพราะไม่มีใครอยากหยิบมาอ่าน องค์ความรู้ทั้งหลายมันสูงส่งเกินไป จึงเอามาประยุกต์ใช้ลำบากยิ่งนัก

       เมื่อใดก็ตามที่ผมพบเจอศิษย์เก่ามัธยม ผมมักจะถามเขาว่า "จบแล้วคุณจะไปต่อที่ไหน" ถ้าเขาบอกผมว่า เขาอยากเป็นช่างครับครู ผมจะสนับสนุนเต็มที่ เพราะทราบดีว่าลูกศิษย์แต่ละคนมีความชอบ ความพร้อมไม่เหมือนกัน เขาคงอยากเป็นช่างชำนาญการในอนาคต มากกว่าที่จะไปเป็นนกแก้วนกขุนทอง ท่องตำราหนาๆ เรียนพิเศษกันหัวมุน ในสายมัธยมและเขาคงไม่ถนัด และคงไม่ชอบใจ ก็แค่จะบอกว่า "ขอให้ตั้งใจเรียนและอย่าไปมีปัญหาล่ะ"

      ส่วนคนที่พอจะเรียนไหว เรียนดี อยากสอบเข้าโรงเรียนดังๆ ก็สนับสนุน "ขอให้เธอโชคดี และได้ปริญญาตามที่เธอตั้งใจเอาไว่ว่า อยากทำอาชีพอะไรในอนาคต แต่ขอให้ตั้งใจจริง และเชื่อว่า เธอต้องทำได้ มุ่งมั่นเอาประสบการณ์ไม่ใช่ปริญญา"


     ไม่มีใครบอกได้ว่า อนาคตของเด็กแต่ละคนจะไปเป็นอะไร แต่ห่วงใยเหลือเกินกับการศึกษาในปัจจุบัน เด็กไทยเรียนเยอะมาก ครูมีคุณวุฒิสูงขึ้น ปริญญาโท ปริญญาเอก อาจารย์ 3 อาจารย์ 4  C8 C9 ตามแต่จะเรียกกันไป ผศ รศ ศ. ก็เยอะ แต่การศึกษาแย่ลงทุกวัน สวนทางกันจริงๆ ประเทศไทยเราเป็นอะไรไป.....ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ สงสารก็แต่เด็กๆ ที่เขาแย่เช่นนี้เพราะใคร?

       
ความคิดเห็นส่วนตัว........ขออภัยด้วยถ้ามีข้อความใดไม่ถูกต้องนะครับ   วชิรวิทย์